Digital Nomad เทรนด์อาชีพใหม่ที่กำลังมาแรง!
บทความโดยดร.พิสิทธิ์ พิพัฒน์โภคากุลIMPRESSION GROUP
บทความโดยดร.พิสิทธิ์ พิพัฒน์โภคากุลIMPRESSION GROUP
คนมักเข้าใจว่าเมื่อเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ นั่นหมายความว่าวุฒิภาวะของเราก็จะโตขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วหลายคนกำลังเข้าใจผิดกับคำว่า “โตขึ้นตามวัย” และ “โตเป็นผู้ใหญ่” สองคำนี้ค่อนข้างแตกต่างกัน เพราะคำว่าโตขึ้นตามวัย คือการการแก่ลงไปตามวัย หรือการเจริญวัย แต่โตเป็นผู้ใหญ่ คือการเจริญเติบโต อย่างมีวุฒิภาวะ วุฒิภาวะคืออะไร ในทางจิตวิทยา “วุฒิภาวะ” หมายถึงความสามารถในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมอย่างถูกกาลเทศะ รวมถึงยอมรับและพร้อมรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองเป็น ซึ่งการมีวุฒิภาวะที่โตแล้วนั้น ยังรวมถึงการมีเป้าหมายชีวิต ใช้ชีวิตอย่างมีทิศทางและมีความหมาย ซึ่งต่างจากคนที่ยังไม่มีวุฒิภาวะพอ พวกเขาจะใช้ชีวิตแบบไม่มีทิศทาง รวมถึงไม่สามารถควบคุมอารมณ์และมีพฤติกรรมที่สามารถสร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองและผู้อื่นได้ วุฒิภาวะไม่เกี่ยวกับอายุจริงไหม? ในสังคมปัจจุบันคุณอาจจะได้พบเจอคนมากมาย เช่น คนอายุน้อยแต่มีความคิดโตกว่าผู้ใหญ่บางคน หรือคนอายุมากแต่คำพูดและการกระทำกลับไม่มีมารยาทและไม่เคารพผู้อื่น ดังนั้นวุฒิภาวะจึงไม่เกี่ยวอะไรกับอายุ แต่คือสิ่งที่คุณต้องสร้างขึ้นด้วยตัวเอง ซึ่งเกิดได้จากสภาพแวดล้อมและการฝึกฝนความคิดและจิตใจเป็นหลัก ถ้าคุณเป็นนายความคิดและคำพูดตัวเอง ไม่ปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือทุกสิ่ง สิ่งที่คุณแสดงออกมาจะบอกถึงวุฒิภาวะภายในของตัวคุณเอง มีวุฒิการศึกษาแต่ขาดวุฒิภาวะจะเกิดอะไรขึ้น? ในโลกของการทำงาน ทุกคนต่างมาจากครอบครัวที่มีการอบอรมสั่งสอนต่างกัน รวมถึงมีการศึกษาที่ไม่เหมือนกันด้วย แต่เมื่อต้องมาทำงานร่วมกับคนอื่น นอกจากต้องมีความฉลาดทางสติปัญญา มีความรู้ความสามารถในการทำงานแล้ว คุณยังจำเป็นต้องมีวุฒิภาวะด้วย ถ้าคุณมีวุฒิการศึกษาแต่ขาดวุฒิภาวะ คุณอาจจะได้เข้าทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสมกับความเก่งของคุณก็จริง แต่เวลาทำงานไปเรื่อย ๆ การอยู่ร่วมกันในสังคมกับผู้อื่นจะค่อนข้างยาก เพราะคนขาดวุฒิภาวะจะมองโลกแง่ลบมากกว่าบวก เป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ ชอบตัดสินคนอื่น ไม่ค่อยมีจุดหมาย รวมถึงชอบใช้อารมณ์มากกว่าสติ […]
กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า CSR เป็นแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร เพื่อทำให้สังคมนั้นอยู่อย่างมีความสุข แนวคิดเรื่อง CSR นั้นจะช่วยให้บริษัทคำนึงถึงความรู้จักผิดชอบกับการกระทำใดๆที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมในมิติต่างๆ ทั้งตัวบริษัท พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง ประชาชน สังคม สิ่งแวดล้อม หน่วยงาน องค์กรต่างๆ หรือที่เรียกว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในทางปฏิบัติคำว่า CSR อาจเรียกได้ว่าความเป็นพลเมืองที่ดี (Corporate Citizenship) ที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบในทุกๆด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม หากบริษัทไหนเริ่มต้นที่จะนำแนวคิด CSR มาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความน่าชื่อถือให้กับบริษัทเอง รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ในการสร้างธุรกิจให้เติบโตก้าวหน้าพร้อมกับคืนกำไรต่างๆสู่ชุมชนและสังคม ดังนั้น CSR จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจสำหรับองค์กรใหญ่ๆทุกบริษัท และกลายเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมธุรกิจ คู่แข่ง และอุตสาหกรรม ประเภทของ CSR CSR นั้นแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR-After-Process) เป็นการดำเนินกิจกรรมขององค์กรที่แสวงหากำไรในธุรกิจต่างๆ และนำเงินส่วนหนึ่งที่เป็นรายได้จากการสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ได้อยู่ในกระบวนการผลิต การขายสินค้าหรือบริการของบริษัท เป็นกิจกรรมที่ถูกวางแผนและทำขึ้นมาหลังจากการดำเนินธุรกิจ เช่น การบริจาคเงินสมทบทุน การบริจาคเงินช่วยเหลือภัยพิบัติ การสร้างโรงเรียนในต่างจังหวัด […]
การเป็นผู้ฟังที่ดีนั้นเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน หรือการสื่อสารเรื่องสำคัญ ๆ อย่างการติดต่อประสานงานเพื่อทำให้การทำงานเป็นไปตามเป้าหมายของทีมหรือองค์กร การฟังที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ แตกต่างไปตามวัตถุประสงค์และบทบาทของคนทำงานในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งหลายคนมักคิดว่าการฟังเป็นเรื่องของคนทำงานทั่ว ๆ ไปที่ต้องฟังเพื่อนร่วมงานหรือฟังเพื่อรับคำสั่งจากหัวหน้าเท่านั้น เพื่อจะได้ทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งที่จริง ๆ แล้วคนเป็นหัวหน้าทีมก็ควรเป็นผู้ฟังที่ดีเช่นกัน เพราะเวลาเราพูดถึงทักษะการทำงานสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้างานแล้ว อันดับแรกที่เรานึกถึง มักเป็นเรื่องของความเป็นผู้นำ การเลือกใช้คนให้ตรงกับงาน หรือ การบริหารงานด้านอื่น ๆ จนหลายคนอาจลืมความสำคัญของการเป็นผู้ฟังไป บางครั้งหัวหน้าก็ต้องตั้งใจฟังความเห็นของคนในทีมด้วยว่าพวกเขาเข้าใจหน้าที่ที่มอบหมายให้ไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ตระหนักถึงเป้าหมายตรงกันหรือเปล่า ยิ่งไปกว่านั้น การที่ต้องทำงานในรูปแบบ Work from Homeหรือ Work from Anywhere ตลอดจน การทำงานแบบ Hybrid ยิ่งต้องใช้ความพยายามเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวในการฟังผ่านการทำงานผ่านระบบออนไลน์ในยุคปัจจุบัน เข้าใจระดับความสามารถในการสื่อสารของคนในทีม ก่อนเริ่มต้นการสื่อสาร เราต้องทำความคุ้นเคยกับคนในทีมว่าแต่ละคนมีระดับความสามารถ หรือทักษะในการสื่อสารเป็นอย่างไรบ้าง มีสไตล์ในการพูดแบบไหน ซึ่งไม่ว่าหัวหน้ามือใหม่ที่ต้องรับภารกิจในการบริหารคนเป็นครั้งแรก หรือ คนที่เป็นหัวหน้าอยู่แล้วแต่มีสมาชิกทีมใหม่มาร่วมทีม ต่างก็ต้องทำความรู้จักคนในทีมที่เราจะสื่อสารด้วย แต่ละคนอาจมีความถนัดไม่เหมือนกัน เช่น พนักงาน A เขียนสื่อสารไม่เก่ง แต่พูดอธิบายหรือโน้มน้าวคนด้วยวาจาเก่ง ในขณะที่ พนักงาน B เขียนรายงานเก่ง แต่พอให้พูดหรือนำเสนอต่อหน้าคนจำนวนมาก กลับเป็นเรื่องไม่ถนัด หรือ บางคนไม่เก่งทั้งพูดและเขียน […]
พอผ่านช่วงต้นปีพนักงานหลายคนเริ่มมองหาโอกาสใหม่ ๆในชีวิต ทำให้บริษัทหลายแห่งมีพนักงานเข้าออกเป็นจำนวนมาก บางครั้งพนักงานที่ลาออกมีมากกว่าพนักงานใหม่ทำให้องค์กรต้องวุ่นวายกับการหาคนแถมยังเสียเวลามาสอนงานใหม่อีกด้วย เลือกคนที่ใช่ DNA ไปกันได้กับองค์กร ถือเป็นประตูด่านแรกในการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงาน การคัดเลือกก็อย่าดูแค่ทักษะและความสามารถที่ผู้สมัครมี แต่ควรเลือกคนที่ทัศนคติไปในทิศทางเดียวกับบริษัทและมองแล้วว่าจะสามารถทำงานร่วมกับคนในทีมได้ด้วย สวัสดิการต้องมัดใจคนทำงาน ทั้งเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนต้องยุติธรรมกับพนักงานและเหมาะสมกับงานที่เขาได้รับผิดชอบ ถ้าคนไหนที่ทำงานได้โดดเด่น ทำงานมานานระยะหนึ่งก็ควรมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น ข้อนี้ไม่ได้หมายถึงเงินเดือนเท่านั้นแต่ยังรวมถึงสวัสดิการพิเศษอื่น ๆ ด้วย แสดงออกว่าเราเห็นคุณค่าของพนักงาน ไม่ว่าใครก็อยากมีคุณค่าในสายตาขององค์กรทั้งนั้น สิ่งที่คนเป็นหัวหน้าควรทำก็คือแสดงออกให้รู้ว่าเราเห็นคุณค่าของพวกเขาซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีเช่น ประกาศ หรือแจกรางวัลพนักงานดีเด่นประจำเดือน ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่สามารถสร้างความภาคภูมิใจในตัวพนักงานได้เช่นกัน ให้โอกาสพนักงานเติบโตไปพร้อมองค์กร ไม่มีใครอยากย่ำอยู่ที่เดิมนาน ๆ หรอกไม่ว่าจะทำงานในตำแหน่งไหนก็ตาม องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงานไม่ว่าจะเป็น ส่งไปศึกษาดูงาน อบรม หรือสนับสนุนค่าเรียนที่เกี่ยวข้องกับงาน ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรมองเห็นคุณค่าและมอบโอกาสให้พวกเขาได้เติบโตไปพร้อมกัน สื่อสารกับคนในองค์กรบ้าง การปล่อยให้ต่างคนต่างทำงานโดยไม่สนใจว่าบรรยากาศในบริษัทเป็นอย่างไรจะเป็นตัวเร่งอย่างหนึ่งที่ทำงานพนักงานอยากลาออก บรรยากาศไม่ใช่แค่สถานที่ทำงานเท่านั้นแต่รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับเพื่อนในแผนกและหัวหน้าด้วย ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้คนในองค์กรได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นบ้าง แล้วลองเลือกข้อเสนอแนะมาปรับใช้กับองค์กรต่อไป ไม่ตึงจนเกินไป คนทำงานยุคใหม่ใคร ๆ ก็ให้ความสำคัญกับเวลางานที่ยืดหยุ่นและ Work – Life Balance ที่จะช่วยให้งานกับชีวิตสมดุลกันมากขึ้น การที่องค์กรตึงจนเกินไปและไม่ยืดหยุ่นให้กับพนักงานก็เป็นสาเหตุหลักที่หลายคนตัดสินใจเปลี่ยนงาน ลองดูวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้พนักงานรู้สึกยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ไม่ต้องเข้างานตรงเวลาแค่เก็บชั่วโมงให้ครบก็พอ, นั่งทำงานที่ไหนก็ได้ในออฟฟิศ, มีพักเบรกสั้น […]